ในฐานะคนรักแมว เราเข้าใจดีว่า เจ้าของทุกคนอยากให้สัตว์เลี้ยงของเรามีความสุขและแข็งแรงทั้งกายและจิตใจอยู่เสมอ แต่แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่พูดไม่ได้ หากแมวป่วย เจ้าของจะต้องหมั่นสังเกตอาการและเช็คว่าเมื่อไหร่ที่เขาต้องการความช่วยเหลือ
สัญญาณเตือนแมวป่วย
แมวมีนิสัยต่างจากสุนัขตรงที่ไม่ชอบยุ่งกับใคร และมักไม่ขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกไม่ป่วย สัญชาตญาณการปัองกันตัวจะทำให้แมวป่วยดูก้าวร้าวขึ้นและหลบไปอยู่เงียบ ๆ จึงทำให้คุณจับตาดูเขาได้ยาก
คุณอาจป้องกันปัญหาสุขภาพของแมวได้โดยพาเขาไปตรวจร่างกายทุก 6-12 เดือน โดยเฉพาะเมื่อแมวมีอายุมากกว่า 8 ปีขึ้นไป หากสงสัยว่าแมวมีอาการผิดปกติแต่ไม่แน่ใจว่าร้ายแรงแค่ไหน Purina ได้รวบรวมอาการผิดปกติหลายอย่างที่เจ้าของแมวควรจับตาดูและหมั่นสังเกตก่อนตัดสินใจพาไปหาสัตวแพทย์
บทความนี้ได้รวบรวมอาการป่วยของแมวที่มักพบบ่อยและเจ้าของควรรู้ หากกังวลเกี่ยวกับสุขภาพแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์
“เวลาที่แมวป่วย เราเองก็หงุดหงิดไม่สบายใจ ทีมผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์เลี้ยงของ Purina ได้ช่วยหาวิธีลดความกังวลโดยเผยแพร่ความรู้ให้เจ้าของแมวเรียนรู้วิธีสังเกตปัญหาสุขภาพของแมว เพื่อที่เมื่อปัญหานั้นร้ายแรงขึ้นเจ้าของจะได้พาเขาไปหาสัตวแพทย์ได้ทันท่วงที”
อาการไม่อยากอาหาร
หากแมวกินอาหารน้อยกว่าปกติ
สาเหตุอาจมาจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เขาจับสัตว์กินเป็นอาหารนอกบ้านมาแล้วหรืออากาศร้อนจนเขาไม่เจริญอาหารก็ได้ อย่างไรก็ดี
อาการไม่อยากอาหารอาจบ่งบอกปัญหาสุขภาพที่แอบแฝงอยู่ได้ โดยเฉพาะสำหรับแมวสูงวัย
อาการอาเจียนและไม่สบาย
การอาเจียนก้อนขนหรือหญ้าออกมาถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติที่แมวมักทำเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเขาอาเจียนถี่ขึ้น อาเจียนเป็นอาหารหรือมีเลือดปน แสดงว่าแมวมีปัญหาในการกลืนอาหาร สำลักหรือขย้อน
ดังนั้นควรนัดพบสัตวแพทย์เพื่อพาแมวไปตรวจ
การอาเจียนเป็นสัญญาณบอกการเจ็บป่วยของแมวหลายอย่างตั้งแต่ปัญหาลำไส้ รวมถึงโรคไตหรือตับ การอาเจียนร่วมกับอาการเซื่องซึม หดหู่ ท้องร่วงหรือไม่อยากอาหารเป็นสัญญาณบอกว่าแมวป่วย ควรพาเขาไปหาสัตวแพทย์เพื่อตรวจอาการและรักษา
ปัญหาการขับถ่าย
หากแมวท้องร่วงเป็นเวลานาน ขับถ่ายเป็นสีดำ มีเลือดสดหรือเมือกปน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเขาป่วย ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการอาเจียน เซื่องซึม ไม่อยากอาหารหรือน้ำหนักลดพร้อมกับขับถ่ายยากร่วมด้วย ให้ติดต่อสัตวแพทย์ทันที
แต่กรณีที่แมวถ่ายไม่ออกหรืออุจจาระเป็นก้อนแข็ง รวมถึงมีขนปะปนมาเยอะมาก ให้นัดสัตว์แพทย์เพื่อตรวจดู อาการป่วยอาจไม่หนักมากและรักษาง่าย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ของแมวได้เหมือนกัน
ถ้าแมววนเวียนเข้ากระบะทรายเพื่อขับถ่ายแต่ฉี่ไม่ออกหรือฉี่กะปริดกะปรอย ร้องเวลาฉี่หรือมีเลือดปนออกมา
อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
ซึ่งพบได้บ่อยและรักษาได้ง่าย การติดเชื้อร้ายแรงอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (feline lower urinary tract disease: FLUTD) ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับแมวอย่างมากหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา
ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคทางเดินปัสสาวะ ควรพาแมวไปตรวจเพื่อรักษาให้เร็วที่สุด
เนื่องจากการปล่อยโรคทางเดินปัสสาวะไว้โดยไม่รักษานั้นเป็นอันตรายกับแมวอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นอาการควรเริ่มรักษาให้เร็วที่สุด
น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
ถ้าแมวน้ำหนักขึ้นเร็วมากก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ ซึ่งจะนำไปสู่โรคเบาหวาน เคลื่อนไหวลำบากหรือแม้แต่โรคอื่น ๆ เมื่อเราอุ้มหรือลูบตัวแมวนั้น เราควรจะสัมผัสและรู้ได้ว่าซี่โครงแมวอยู่ตรงไหน ถ้าบอกไม่ได้ก็แปลว่า แมวเริ่มน้ำหนักเกินแล้ว
ลองนำเครื่องมือตรวจประเมินรูปร่าง (Body Conditioning Tool) มาใช้ประเมินและตรวจสอบน้ำหนักของแมวเบื้องต้นได้
หากคุณคิดว่าแมวควรลดน้ำหนัก สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อให้คุณหมอแนะนำวิธีลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไปที่เหมาะสมกับแมว การจะปรับเปลี่ยนอาหารให้แมวต้องค่อย ๆ ทำอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กระเพาะแมวมีปัญหา
ถ้าหากคุณรู้สึกว่าท้องแมวใหญ่ขึ้น ควรขอให้
สัตวแพทย์ตรวจดู เพราะอาจเกิดจาก
ปัญหาบวมน้ำแทนที่จะเกิดจากไขมันก็ได้
ดื่มน้ำ/ปัสสาวะถี่ขึ้น
หากคุณเพิ่งเปลี่ยนมาให้อาหารเม็ด
แมวอาจดื่มน้ำมากกว่าปกติเพราะต้องปรับตัว
และคุ้นชินกับอาหาร
แต่ถ้าอยู่ดี ๆ แมวเริ่มดื่มน้ำหรือฉี่บ่อยกว่าปกติโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนอาหาร นี่อาจเป็นสัญญาณว่าแมวป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวานหรือปัญหาสุขภาพแมวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไต หากแมวมีนิสัยไม่ค่อยดื่มน้ำ แต่จู่ ๆ กลับดื่มน้ำหลายถ้วยหรือกระบะทรายแฉะมากกว่าปกติ ควรนัดสัตวแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ
สุขภาพผิวของแมวบ่งบอกสุขภาพโดยรวมของแมวได้เป็นอย่างดี ผิวหนังของแมวควรเป็นสีชมพูหรือสีดำ และขนควรมีลักษณะเรียบลื่นเป็นมันเงา