บางครั้งสุนัขสูงวัยอาจมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจนดูไม่เหมือนเดิม ไม่ก็ดูแปลกอย่างเห็นได้ชัด ไม่ใช่แค่เคลื่อนไหวช้าลง ไม่นานมานี้ผู้เชี่ยวชาญได้ให้เหตุผลว่า อาการเหล่านี้เกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ล่าสุด มีการกำหนดชื่อเรียกอาการผิดปกติที่เกิดกับสุนัขสูงวัยนี้ว่า ความผิดปกติของการรับรู้ในสุนัข (Cognitive Dysfunction Syndrome หรือ CDS)
อาการของสุนัขที่มีความผิดปกติในการรับรู้
ตัวอย่างพฤติกรรมของสุนัขที่เปลี่ยนไปได้แก่ รู้สึกสับสน ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเดิม ๆ จนไปถึงพฤติกรรมออกเตร็ดเตร่แบบไร้จุดหมาย และลืมทางกลับบ้าน
แม้คุณจะเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านตลอด อุบัติเหตุก็ยังอาจเกิดขึ้นได้ สุนัขอาจจะไม่ไปทักทายคุณที่ประตูเหมือนเคย ไม่เล่นด้วย และไม่ใส่ใจว่าคุณจะลูบหัวหรือไม่
คุณสามารถสังเกตพฤติกรรมของสุนัขและความผิดปกติของการรับรู้ในสุนัขที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้ นั่นคือสุนัขอาจจะง่วงนอนตลอดวัน แต่กลางคืนกลับร่าเริงผิดวิสัย เกิดจากรูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป สุนัขอาจไม่หลับในตอนกลางคืน และยังเดินไปมามากขึ้น เพราะนาฬิกาชีวิตของสุนัขเสียศูนย์ไป และยังอาจจะเห่าตอนกลางคืนด้วย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าสุนัขไม่ใส่ใจคุณอีกแล้ว เพราะความผิดปกติของการรับรู้ในสุนัขจะทำให้พฤติกรรมของสุนัขเกิดการสลับขั้วโดยที่สุนัขเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังทำให้เจ้าของปวดใจ
หากคุณสังเกตว่าสุนัขมีความผิดปกติของการรับรู้ ที่เกิดได้จากอาการเหล่านี้ สัตว์แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอาการหากสุนัขสูงวัยมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและไม่ได้มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับร่างกายภายนอก
กลุ่มอาการของโรคนี้เทียบได้กับโรคอัลไซเมอร์ของมนุษย์ หลายคนอาจคิดว่าอาการนี้คือโรคสมองเสื่อมในสุนัข แม้ว่าโรคสมองเสื่อมในสุนัขจะแสดงอาการต่างจากมนุษย์ก็ตาม
วิธีการรักษาความผิดปกติของการรับรู้ในสุนัข
อย่าเพิ่งกังวลไปหากสุนัขของคุณมีความผิดปกติในการรับรู้ พฤติกรรมของสุนัขที่เปลี่ยนไปของสุนัขสูงวัยสามารถรักษาได้ การรักษาอาจทำได้โดยเปลี่ยนอาหาร ให้กินยา หรือ รักษาโดยการปรับพฤติกรรม เคล็ดลับอื่น ๆ สำหรับสุนัขสูงวัยที่มีอาการโรค CDS และสุนัขสูงวัยทั่วไป มีดังนี้
- เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ควรสำรวจว่าในบ้านหรือในสวนมีจุดที่ทำให้สุนัขล้มหรือก้าวพลาดได้หรือไม่ ถ้าพาสุนัขไปในบริเวณที่มีจุดดังกล่าว ก็ควรเฝ้าดูสุนัขให้ดี
- ฝึกทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตร เพราะสุนัขสูงวัยที่มีอาการ CDS จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง หากรักษารูปแบบกิจวัตรประจำวันเดิม ๆ ได้ อาการอาจจะทุเลาลง
- ควรพาสุนัขออกกำลังกายเป็นประจำหากไม่มีโรคประจำตัวที่ห้ามใช้แรง เพราะการเดินเป็นประจำจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการทำให้สุนัขเครียด เช่น จับไปไว้ในคอกหรือที่ปิด พยายามรักษาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบตัวสุนัขให้เหมือนเดิมที่สุด
- ถ้าเป็นไปได้ควรเลี่ยงการให้แขกพาสุนัขอื่นมา
- การให้สุนัขขับถ่ายนอกบ้านอาจกลายเป็นเรื่องยาก ทางที่ดีควรพาสุนัขออกไปเดินเล่นบ่อย ๆ พร้อมให้รางวัลตอบแทนความประพฤติดี ๆ
- ควรปรึกษากับสัตวแพทย์ว่าการให้ยาจะส่งผลดีต่อสุนัขหรือไม่
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม การที่เรากับสุนัขมีช่วงชีวิตที่เปี่ยมด้วยความรักและความห่วงใย เราก็ควรใส่ใจดูแลสุนัขเท่าที่เราทำได้ แล้วสุนัขก็จะมอบคืนความปรารถนาดีเหล่านั้นให้เรา